ปัญหาโรคเอดส์ เอชไอวี เป็นปัญหา ที่ทั่วโลกไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นโรคที่ ยังไม่มียารักษา ให้สามารถหายขาดได้ มีเพียงแต่ ยาที่ช่วยยับยั้ง การเพิ่มจำนวน ของเชื้อไวรัส หรือที่รู้จักกัน ในชื่อยาต้านไวรัส ซึ่งสามารถช่วย ให้ผู้ติดเชื้อ สามารถดำรงชีวิตได้ดังปกติ มีอายุขัยตามปกติ ไม่เข้าสู่สภาวะเอดส์
เอชไอวี (HIV) ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นชื่อไวรัส ของโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือที่รู้จักกันว่า “โรคเอดส์” ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเอดส์เสมอไป
สถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหาเอชไอวี และ ปัญหาเอดส์ในไทย จากการศึกษา เฉพาะในกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2562 พบผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 77,558 คน นับเป็นผู้ป่วยใหม่ จำนวน 1,190 คน และภายในผู้ป่วยใหม่นี้ มีเยาวชนที่ มีอายุน้อยกว่า 25 ปี จำนวน 628 คน นอกจากนี้พบผู้เสียชีวิตไปแล้ว จำนวน 1,877 คน สำหรับทั่วประเทศพบว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพิ่มขึ้น ประมาณ 5,500 คน/ปี เดิมมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ 467,600 คน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเพียงผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบการรักษา แต่ยังมีผู้ไม่ทราบว่าตนเอง ติดเชื้อเอชไอวี หรือรู้ แต่ไม่ยอมรักษา ที่เราไม่ทราบอีกจำนวนมาก ในไทย
ปัญหาโรคเอดส์ ที่เกิดขึ้น เนื่องจาก HIV สามารถติดต่อได้ 3 ทางหลักๆ คือ
1. การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน: ปัญหาโรคเอดส์ หรือ การติดเชื้อเอชไอวี ที่เกิดจากการไม่สวมใส่ถุงยางอนามัย มีความเสี่ยงน้อยกับ ผู้ที่มีคู่นอนเพียงคนเดียว แต่จะมีความเสี่ยงมากๆ ในผู้ที่มีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ปัญหาการไม่ป้องกันนี้ อาจจะเป็นในเรื่องของ ความพึงพอใจส่วนบุคคล ที่จะสวมใส่หรือไม่ก็ได้ หรืออาจจะมีความเชื่ออะไรก็ตาม ทั้งนี้ ขอแนะนำให้สวมใส่ เพราะช่วยในเรื่องปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่นอกเหนือจากเอชไอวีด้วย
2. การใช้ของมีคมร่วมกัน เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การใช้ที่ตัดเล็บร่วมกัน และอื่นๆ
3. การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ปัญหาที่พบได้บ่อยๆ คือ ไม่รู้ตัว มีการตั้งครรภ์ ไม่รีบมาฝากครรภ์ ไม่พาสามีมาตรวจ ทำให้ไม่ทราบว่า มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้ออยู่
การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
1. ป้องกันทุกครั้ง ที่จะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเพศอะไร
2. ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
3. ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า
4. หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น
5. หากอยากมีบุตร ก็วางแผนการตั้งครรภ์ ร่วมกับคุณหมอ ตรวจหาเชื้อทั้งสามีและภรรยา
6. ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ซึ่งสามารถตรวจได้ฟรี ที่โรงพยาบาล ปีละ 2 ครั้ง
ปัจจุบันก็พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในทุกๆ ปี น้อยลง แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่ได้มารักษา หรืออาจจะไม่รู้ตัว โดยสาเหตุการติดเชื้อก็เกิดจากปัญหาที่กล่าวมาด้านบน ซึ่งทางที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้ คือ ป้องกันการติดเชื้อ หากมีความเสี่ยงก็ควรจะตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีให้เรียบร้อย ในผู้ติดเชื้อ HIV แล้วก็หลีกเลี่ยงการส่งต่อเชื้อให้กับผู้อื่น และเข้ารับการรักษา รับยาต้านไวรัส HIV อย่างถูกต้อง จะสามารถมีอายุขัยได้ยืนยาวเทียบเท่าคนปกติ ใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้อย่าง เพราะทางติดต่อไม่ได้เกิดจากการใช้ชีวิตหรือวิถีประจำวัน
หากอยากมั่นใจในทุกครั้งที่ตรวจ โปรดซื้อชุดตรวจเอชไอวีกับร้านที่น่าเชื่อถือและมีมาตรฐานรับรอง
สนใจสอบถาม-สั่งซื้อสินค้า Click เพื่อ Add LINE สอบถามได้เลยค่ะ
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook