ติดต่อ-สอบถาม 082-478-9162

ใครเคยสั่งชุดตรวจเอดส์ในอินเตอร์เน็ตบ้าง ?

ใครเคยสั่งชุดตรวจเอดส์ในอินเทอร์เน็ตบ้าง

ใครเคยสั่งชุดตรวจเอดส์ในอินเตอร์เน็ตบ้าง สามารถเชื่อถือได้ไหม ต้องตรวจที่กี่วันถึงจะมั่นใจ ไม่อยากไปตรวจที่ โรงพยาบาลเลย ลองซื้อจากอินเทอร์เน็ตมาลองก่อน เคยเจอคำถามพวกนี้ไหม ในขณะที่คุณ กำลังมองหา ชุดตรวจเอชไอวี มาตรวจ เอาล่ะ วันนี้ เราจะมาช่วย ตอบคำถามให้คุณ

การตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน
การตรวจเอชไอวี ในปัจจุบันของทั่วโลก มีอยู่ประมาณ 3 รูปแบบหลักๆ คือ
1. การตรวจเอชไอวี โดยเก็บตัวอย่างจากน้ำลายในปาก
2. การตรวจเอชไอวี จากปัสสาวะ
3. การตรวจเอชไอวี จาก ซีรัม พลาสมา หรือเลือด

การตรวจเอชไอวีในไทย
การตรวจเอชไอวีในไทย จะเน้นไปที่ การตรวจจากซีรัม พลาสมา หรือเลือด ซึ่งนิยมตรวจ จากเลือดมากในปัจจุบัน

หลักการตรวจเอชไอวีจากเลือด
1. ตรวจหาแอนติเจน ของเชื้อเอชไอวี หรือ p24 antigen test วิธีนี้ อาจโดนรบกวน ได้ง่าย จากปัจจัยภายนอก จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ แต่สามารถใช้ตรวจได้ เมื่อผู้ตรวจได้รับความเสี่ยงมา 14 วัน
2. ตรวจแบบแนท วิธีนี้ถูกพัฒนาขึ้น มาเพื่อให้ตรวจได้ไวขึ้น โดยสามารถตรวจได้ หลังเสี่ยงมาหนึ่งสัปดาห์ โดยจะตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยตรง ในปัจจุบันวิธีนี้ ยังไม่เป็นที่นิยม อาจจะ เนื่องมาจากสามารถตรวจได้ ตามโรงพยาบาลบางแห่ง และใช้กันในสภากาชาดไทย
3. ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี วิธีนี้ เป็นที่นิยมมากที่สุด ในปัจจุบัน มีควาแม่นยำ มากกว่า การตรวจหาแอนติเจน ที่ถูกรบกวนได้ง่าย และแม่นยำเท่ากับการตรวจแนท สามารถตรวจได้ หลังรับความเสี่ยงมา 21 วัน
4. ตรวจหาแอนติบอดี และแอนติเจน ในชุดตรวจเดียวกันในคราวเดียวกัน สามารถตรวจได้เมื่อรับความเสี่ยงมา 14 วัน

ใครเคยสั่งชุดตรวจเอดส์ในอินเตอร์เน็ตบ้าง ?
ชุดตรวจเอชไอวีในอินเทอร์เน็ตที่มีขายจะแบ่งเป็นตรวจหาแอนติบอดี และชุดตรวจหาแอนติบอดีและแอนติเจนในปัจจุบัน
1. ความแตกต่างของชุดตรวจเอชไอวี
1.1 ชุดตรวจหาแอนติบอดี
– นิยมใช้ตรวจกันในปัจจุบัน ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
– นิยมตรวจที่ 30 วัน เพื่อให้พ้นระยะฟักตัวของเชื้อ
– แม่นยำมาก ไม่ถูกรบกวนได้ง่าย
1.2 ชุดตรวจหาแอนติเจนและแอนติบอดี ในชุดตรวจเดียวกัน
– ตรวจได้เร็วขึ้น สามารถตรวจได้ที่ 14 วัน หลังได้รับความเสี่ยง
– หากตรวจพบเพียงแอนติเจนเพียงอย่างเดียวจะต้องรอตรวจย้ำอีกครั้ง เพื่อหาแอนติบอดีของเชื้อ ดังนั้นอาจจะต้องทำการตรวจซ้ำอีกที่ 21 หรือ 30 วัน เนื่องจากการตรวจหาแอนติเจนนั้นถูกรบกวนได้ง่าย อาจจะทำให้เกิดผลลบปลอม หรือผลบวกปลอม

อย่างไรก็ตามทางการแพทย์ จะแนะนำให้ตรวจย้ำอีกที่ 30 วัน และที่ 60 – 90 วัน ทั้งนี้เพื่อให้พ้นระยะฟักตัวของเชื้อ ที่อาจก่อให้เกิดผลลบปลอม จนทำให้ผู้ป่วย เข้าใจว่าตนเองไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ซื้อควรพิจารณาเปรียบเทียบความคุ้มค่า และความแม่นยำของชุดตรวจที่จะตรวจด้วย อย่างเช่น หากเราซื้อชุดตรวจแบบแอนติเจนมา ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะรบกวนผลตรวจ และเราก็ต้องรออีก 30 วันเพื่อตรวจอีกครั้ง เพื่อให้พ้นระยะฟักตัว

2. ความแม่นยำ
ชุดตรวจเอชไอวีในปัจจุบันมีความแม่นยำมากขึ้น โดยมีความแม่นยำมามากกว่า 99%

3. เลขอย.ไทย
การซื้อชุดตรวจออนไลน์จากอินเทอร์เน็ตผู้ซื้อควรสอบถามถึงเลขอย. ไทย ของชุดตรวจเอชไอวีที่ต้องการจะซื้อ จากนั้นนำมาเช็คกับทางเว็บของอย.ไทยได้เลย อีกทั้งไม่ควรที่จะตรวจสอบรูปร่าง และชื่อของผลิตภัณฑ์ให้แน่ชัดว่าใช่ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่

ปัจจุบันมีชุดตรวจปลอม ถูกนำมาขายมากมายทั้งในเว็บ และ แอปพลิเคชันขายของออนไลน์ต่างๆ มีทั้งส่งตรงจากต่างประเทศ เช่น จีน สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งชุดตรวจเหล่านี้ ยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากองค์การอาหารและยาของไทย แน่นอนว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย อีกทั้งยังมีคนไทยหลายคนที่สั่งจากต่างประเทศเพื่อมาจำหน่ายทั้งๆ ที่ไม่ได้ขออนุญาตจาก อย. ไทย เช่นกัน ซึ่งถือได้ว่าผิดกฎหมาย (ไม่รวมถึงผู้ที่สั่งจากต่างประเทศเพื่อมาใช้ตรวจเอง)
ที่ต้องกังวลถึงการได้รับอนุญาตจากอย.ไทย เนื่องจากในการขออนุญาตทาง อย.ไทยจะทำการทดสอบชุดตรวจ เพื่อให้มั่นใจถึงมาตรฐาน ความแม่นยำของชุดตรวจ

อย่างไรก็ตามชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ที่สามารถหาซื้อได้ตามอินเทอร์เน็ต ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งคงต้องฝากกันไว้ว่าท่านควรพิจารณาถึงมาตรฐานให้มาก เพื่อความปลอดภัยของท่านเอง และความน่าเชื่อถือของชุดตรวจนั้น สอบถามเลขอย. ไทย เน้นย้ำว่าเลขอย.ไทย และสอบถามถึงความแม่นยำของชุดตรวจ สุดท้ายนี้แอดมินก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหลายๆ คน และช่วยไขข้อสงสัยของผู้อ่านได้

 

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook