เป็นแผลแบบไหน ถึงติดเอดส์ได้ เราสามารถเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีได้จากทางใดบ้าง QQR หลักการพิจารณาความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี ความจริงที่ทุกคนควรรู้ คือ ติดเชื้อเอชไอวีไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเอดส์ HIV คือเชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัสที่มุ่งทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นเซลล์หลักที่ทำงานในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ร่างกายของเรานั้น ได้รับสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค เชื้อไวรัส และเชื้ออื่น ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคอยู่ตลอดเวลา โดยมีเม็ดเลือดขาวนี่แหละ ที่คอยจัดการกับสิ่งเหล่านี้ที่เข้าสู่ร่างกาย เพื่อไม่ให้เราเป็นโรค หรือป่วย หากเม็ดเลือดขาวของเราถูกทำลาย ก็จะทำให้เชื้อต่าง ๆ ไม่ถูกกำจัด จึงเจริญเติบโตและก่อโรคได้ง่ายขึ้น จึงทำให้เราป่วยด้วยโรคฉวยโอกาส และนี่จึงเรียกว่าเอดส์
1. การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด รวมถึงการรับเชื้อผ่านทางบาดแผล
2. การรับเชื้อทางเลือด เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ การรับเลือดผ่านทางการผ่าตัดซึ่งมีความผิดพลาดขึ้นได้ เป็นต้น
3. การติดต่อผ่านแม่สู่ลูก
ถ้าหากพูดถึงการติดโรคผ่านช่องทางหลัก ๆ ดังกล่าว ทุกคนคงพอจะเข้าใจ ยกเว้นการติดต่อผ่านทางแผล ซึ่งคำถาม คือ ต้อง เป็นแผลแบบไหน ถึงติดเอดส์ได้ เรามีหลักการพิจารณาความเสี่ยงในการติดเชื้อ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในคำถามนี้
1. Q ที่หนึ่ง คือ Quantity and Source หมายถึง ปริมาณของเชื้อเอชไอวีที่ได้รับต้องมีปริมาณมากพอ โดยเชื้อเอชไอวีพบมากที่สุดในเลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด และน้ำนมแม่ ตามลำดับ
2. Q ที่สอง คือ Quality หมายถึง คุณภาพของเชื้อ ต้องบอกก่อนว่าเชื้อเอชไอวีไม่สามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ เมื่อสัมผัสอากาศจะอ่อนแอ และตายได้ง่าย ๆ ยิ่งเชื้ออยู่ข้างนอกร่างกายสัมผัสกับอากาศนานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งอ่อนแอ
ดังนั้น เชื้อที่อ่อนแอ เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะไม่สามารถเข้าสู่เม็ดเลือดขาวได้ และเชื้อเหล่านี้ก็จะถูกกำจัดทิ้งไป ทำให้ไม่เกิดการติดเชื้อ
นอกจากนี้หากเชื้อเอชไอวีมีสภาพทางเคมีและสภาพอากาศไม่เหมาะสมก็จะสามารถตายได้ หรือถูกทำลายหากเจอกับเอนไซม์ที่อยู่ในน้ำลาย กรดในกระเพาะอาหาร และน้ำยาต่าง ๆ
ความเสี่ยงในการติดเชื้อจึงควรพิจารณาถึงคุณภาพของเชื้อเอชไอวีด้วย ซึ่งหากเชื้อไม่ได้มาพร้อมกับสารคัดหลั่งพวกน้ำเลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด หรือ น้ำนมโดยตรง แบบส่งตรงเข้าสู่ร่างกายในทันที ก็จะมีความเสี่ยงน้อย
3. R คือ Route of Transmission หมายถึง ช่องทางการติดต่อ ต้องแบ่งออกเป็น ช่องทางที่เชื้อจะมีโอกาสออกมาสู่เรา และช่องทางที่เชื้อจะมีโอกาสเข้ามาสู่ร่างกายเรา
– แต่ทางแผลที่เสี่ยงได้รับเชื้อได้ง่ายจะต้องเป็นแผลที่ลึก บาดแผลกว้าง เป็นแผลสด ส่วนแผลที่แห้งใกล้จะหายแล้วไม่มีความเสี่ยง
– และเยื่อบุอ่อน เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุในรูหู เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุในช่องปาก เยื่อบุช่องคลอด เยื่อบุใต้หนังหุ้มอวัยวะเพศชาย รูอวัยวะเพศชาย และทวารหนัก
อย่างไรก็ตามหากยังคงสงสัย คาใจ ไม่แน่ใจ และกังวลว่าตนเองมีโอกาสเสี่ยงได้รับเชื้อมาหรือไม่ เราแนะนำว่าการตรวจเอชไอวีเป็นทางออกที่ดีที่สุด และควรจะทำ หากคุณไม่สะดวกใจที่จะเดินทางไปตรวจตามสถานพยาบาล คุณสามารถเลือกใช้ ชุดตรวจคัดกรองเอชไอวี ด้วยตนเอง มาตรวจก่อนได้ เนื่องจากเป็นตัวช่วยตรวจคัดกรองเอชไอวี ที่สามารถรู้ผลได้รวดเร็ว ตรวจจากเลือดไม่กี่หยด และใช้งานง่ายๆ เพียงทำตามคู่มือการใช้งานอย่างเคร่งครัดก็สามารถให้ผลที่เชื่อถือได้ ซึ่งหากผลการตรวจเป็นบวก ให้คุณเดินทางไปตรวจที่สถานพยาบาลในทันที แต่ถ้าหากผลเป็นลบ ก็สามารถสบายใจได้ แต่ถ้ายังไม่สบายใจก็สามารถหาซื้อมาตรวจซ้ำอีกครั้งได้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ต่อการตรวจเอชไอวี คือ 21-30 วันขึ้นไป สำหรับวิธีการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวีซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน
อยากมั่นใจในทุกครั้งที่ตรวจ โปรดซื้อชุดตรวจเอชไอวีกับร้านที่น่าเชื่อถือและมีมาตรฐานรับรอง
สนใจสอบถาม-สั่งซื้อสินค้า Click เพื่อ Add LINE สอบถามได้เลยค่ะ
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook