ติดต่อ-สอบถาม 082-478-9162

ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดอะไรขึ้นกันแน่ ?

ตรวจเอดส์ ไม่เจอ

ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดอะไรขึ้นกับเรากันแน่ ? เอดส์/เอชไอวี ไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยเอชไอวี ไม่จำเป็น ที่จะต้องกลายเป็น ผู้ป่วยเอดส์เสมอไป เพราะแท้จริงแล้ว คำว่า เอดส์ หมายถึง โรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นอาการระยะสุดท้าย ของโรคติดเชื้อเอชไอวี

การรักษา โรคเอชไอวีในปัจจุบัน แพทย์จะให้ทานยาต้านไวรัส ต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้อาจมีโครงการต่างๆ ที่ขออาสาสมัคร ที่เป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไปเข้าร่วมโครงการ เพื่อทดลองแนวทางการรักษาต่างๆ

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน

 การตรวจคัดดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคล ผู้มีความเสี่ยงได้รับเชื้อเอชไอวี ว่า มีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นการตรวจโดย Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็วภายในไม่กี่นาที ซึ่งมีความแม่นยำสูง หากผลตรวจพบว่า มีโอกาสพบเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควร ดำเนินการตรวจยืนยัน ที่โรงพยาบาลทันที การตรวจแบบคัดกรอง นี้ไม่สามารถยืนยัน หรือสรุปได้ว่า คุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี
การตรวจยืนยัน คือ การตรวจเพื่อยืนยัน หรือสรุปว่า คุณติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ซึ่งการตรวจยืนยัน จะตรวจหลังจาก คุณทำการตรวจคัดกรองมา และพบว่ามีโอกาส ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี ทำไมถึง ต้องตรวจคัดกรองก่อน เพราะปัจจุบัน การตรวจยืนยัน ยังอาจใช้เวลานาน กว่าจะทราบผล และมีผู้ป่วย มารับบริการจำนวนมาก ซึ่งมีผล ต่อการเข้าสู่ระบบการรักษา ดังนั้น หากมีการตรวจคัดกรองมาก่อน ก็จะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่มีโอกาสพบเชื้อ กับผู้ที่ไม่มีโอกาสพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาได้เร็วขึ้น และลดภาระงาน ในการตรวจของเจ้าหน้าที่ได้มากขึ้น

ชุดตรวจเอชไอวี มีขีดความสามารถในการตรวจเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ต่ำสุด คือ 20, 40 หรือ 50 copies ต่อซีซีของเลือด

ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง

โอกาสที่จะตรวจเอดส์ไม่เจอนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ จาก 2 กรณี ได้แก่
กรณีที่ 1 คือ ระยะเวลาในการตรวจนั้น เร็วเกินไป ร่างกายยังไม่มีการสร้างแอนติบอดีขึ้นมา ทำให้หากตรวจในระยะเวลาที่เร็วเกินไปอาจจะตรวจไม่เจอเอดส์ นั่นเอง

ถึงแม้ว่าปัจจุบันการตรวจจะพัฒนาขึ้นมาก และสามารถตรวจได้ไวสุดภายในหนึ่งสัปดาห์ ด้วยวิธีการตรวจแบบ NAT (สามารถตรวจได้ที่สภากาชาดไทย) แต่หากตรวจด้วยวิธีอื่น ระยะเวลาที่ดีที่สุดที่สมควรตรวจ คือ 30 วัน และควรตรวจซ้ำอีกทุก 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หรือตรวจอีกครั้งหลัง 3 เดือน ก็สามารถทำได้ แต่หากตรวจพบว่ามีโอกาสพบเชื้อตั้งแต่ครั้งแรก ให้รีบตรวจยืนยันที่โรงพยาบาลทันที

กรณีที่ 2 คือ เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้ว โดยรับประทานยาต้านไวรัสติดต่อกันนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีปริมาณไวรัสเอชไอวีอยู่ในเลือด น้อยกว่า 50 copies ต่อซีซีของเลือด ทำให้ตรวจเอดส์ ไม่เจอ

ตรวจเอดส์ไม่เจอ เท่ากับไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อแล้วหรือเปล่า?

สำหรับกรณีที่ 1 แนะนำให้ตรวจอีกรอบ เพื่อความมั่นใจ ในระยะที่น่าเชื่อถือ
สำหรับกรณีที่ 2 การที่ตรวจเอดส์ไม่เจอ ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อ แต่เป็นเพียงเพราะ ยาต้านไวรัสที่ทานมาอย่างยาวนาน ออกฤทธิ์ไปกดเชื้อไว้ ไม่ให้เพิ่มจำนวนขึ้น ไม่ให้เชื้อทำอันตรายต่อร่างกายของคุณไปมากกว่านี้

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีกระแสออกมาเกี่ยวกับการไม่สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ที่ตรวจเอดส์ไม่เจอ เพียงเพราะเข้าใจว่าไม่สามารถแพร่เชื้อให้คู่นอนได้ ตามกระบวนการ U=U (Undetectable = Untransmittable) ตรวจไม่เจอ = ไม่แพร่ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีการทดลองออกมาว่าจริง แต่การที่ไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากถุงยางอนามัยสามารถป้องกันได้มากกว่าโรคเอชไอวี ซึ่งการที่เราป้องกันโดยใช้ถุงยางอนามัยนั้น จะเป็นประโยชน์กับเรามากกว่า เพราะช่วงป้องกันการรับเชื้อเอชไอวี และโรคอื่นๆ เพิ่มเข้าสู่ร่างกายแล้ว ยังป้องกันคนอื่นที่อาจจะเสี่ยงได้รับเชื้อจากเรา หากในช่วงนั้นเราทานยาไม่ต่อเนื่อง ขาดไปบ้างในบางวัน

ดังนั้นการสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่จะมีเพศสัมพันธ์ และการป้องกันในรูปแบบอื่นๆ จึงยังคงเป็นเรื่องที่สำคัญอยู่ ไม่ควรที่จะละเลย

สุดท้ายแล้วทางแอดมินอยากจะเชิญชวนและสนับสนุนให้ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมาทุกท่านได้ตรวจเอชไอวี เพราะว่าการที่เรารู้ผลเลือดของตนเองนั้นเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง และคนรอบข้างมากกว่า โดยเฉพาะคนที่คุณรัก ซึ่งหากคุณไม่สะดวกที่จะเดินทางไปตรวจตามสถานพยาบาล คุณสามารถเลือกหาชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองมาตรวจได้ โดยเลือกซื้อที่มีเลข อย.ไทย ถึงจะมั่นใจได้

 

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook