โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร เอดส์ ไม่เท่ากับ HIV
โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร เอดส์ ไม่เท่ากับ HIV และติดเชื้อHIV ไม่เท่ากับเป็นผู้ป่วยเอดส์
เอดส์ (AIDS) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV (Human Immunodeficiency Virus) ทั้งนี้คนส่วนมากเข้าใจผิดว่าเป็นโรคเดียวกัน แต่ความเป็นจริงแล้ว การเป็นเอดส์คือระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี เป็นระยะที่ร่างกายถึงขีดสุดของระบบภูมิคุ้มกัน แต่ปัจจุบันมีการรักษาผู้ป่วยเอชไอวี เพื่อไม่ให้เข้าสู่ระยะเอดส์ได้ และยังสามารถมีสุขภาพที่ดีได้
ดังนั้น เอดส์ ไม่เท่ากับ HIV และติดเชื้อHIV ไม่เท่ากับเป็นผู้ป่วยเอดส์
โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร
ในคำถามนี้ จะให้เข้าใจว่าเป็นการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของเอดส์ ทั้งนี้HIV สามารถติดต่อผ่านทางต่อไปนี้:
- การมีเพศสัมพันธ์: การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน (ไม่ใส่ถุงยางอนามัย) กับคนที่ติดเชื้อ HIV หรือมีการฉีกขาดของถุงยางอนามัย ทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV เนื่องจากเชื้อไวรัส HIV สามารถถูกส่งผ่านผ่านน้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่น หรือน้ำจากช่องคลอด หรือจากเลือดที่มีเชื้อไวรัส ก็จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวีได้
- การใช้เข็มฉีดยาเสพติด: การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกับคนที่ติดเชื้อ HIV หรือการใช้เข็มที่มีเชื้อไวรัส HIV อาจทำให้ติดเชื้อไวรัสได้ และมีโอกาสติดสูงมากกว่าช่องทางอื่น ๆ
- การรับบริการทางการแพทย์: การได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์เลือดที่มีเชื้อไวรัส HIV จากบุคคลที่ติดเชื้อ การทำศัลยกรรมที่มีการใช้เลือดหรือผลิตภัณฑ์เลือด หรืออุปกรณ์ที่มีการสัมผัส เช่น การทำผ่าตัดหรือการทำฟัน ที่ไม่มีมาตรการความปลอดภัยเพียงพอก็เป็นตัวที่ทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อไวรัส HIV เป็นต้น ดังนั้นควรจะเลือกสถานพยาบาลที่มีคุณภาพมาตรฐาน เชื่อถือ และไว้ใจได้ ทั้งนี้ในปัจจุบันการรับเลือดไม่ได้พบเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว เนื่องจากมีมาตรการที่เข้มงวดตั้งแต่ตรวจคัดกรองก่อเชื้อไวรัส HIVนในผู้ที่มาบริจาคเลือด ตลอดจนการตรวจสอบถึงขั้นก่อนนำไปใช้
- การสัมผัสเลือดติดเชื้อผ่านทางแผล การแตะสัมผัสเลือดหรือของเหลวอื่น ๆ ที่มี โดยมีบาดแผลหรือแผลบนผิวหนังของคนที่ไม่ติดเชื้อ ทั้งนี้โอกาสในการติดเชื้อทางนี้ค่อนข้างน้อย เพราะส่วนมากเป็นแผลเยื่อบุอ่อน เช่น แผลในปาก แผลที่อวัยวะเพศ แผลที่ทวารหนัก เป็นต้น
- การติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก สามารถเกิดขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ การคลอด หรือการให้นมบุตร ซึ่งเรียกว่าการติดเชื้อ HIV ระหว่างแม่กับลูก (Mother-to-Child Transmission, MTCT) โดยสามารถเกิดได้ทั้งในระหว่างการตั้งครรภ์ และในช่วงหลังจากการคลอด สำหรับท่านใดที่เตรียมตัวจะมีบุตรแนะนำให้พาทั้งตนเองและคู่ ไปเข้ารับการตรวจสุขภาพเตรียมพร้อมก่อนมีบุตรก็จะได้รับการตรวจเอชไอวี หรือสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แล้วก็ควรเข้ารับการฝากครรภ์โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้มีวิธีการที่เชื่อถือได้ในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก
สำหรับป้องกันการติดเชื้อ HIV/AIDS ควรใช้วิธีป้องกันที่เหมาะสม เช่น การใช้ถุงยางอนามัยในทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ การลดการใช้แบ่งใช้เข็มฉีดร่วมกัน และการทำการตรวจ HIV อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีควรเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส HIV (Antiretroviral therapy, ART) ตามที่แพทย์รักษาให้คำแนะนำ
—————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
อินสติ ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง นำเข้าจากประเทศแคนาดา ได้รับการรับรองจาก WHO Prequalified, CE Marked, Health Canada เลขอย. ไทย 64-2-1-1-0000679 มีจำหน่ายที่ร้านขายยาทั่วไป หรือสามารถเข้าไปค้นหาร้านขายยาที่มีอินสติ ได้ที่ ร้านจำหน่าย INSTI
ผ่านอีกหนึ่งช่องทางคือสั่งซื้อผ่านทางผู้นำเข้าโดยตรง ได้ที่
Line OA: @insti
Facebook: อินสติ insti ชุดตรวจเอชไอวี
Shopee: INSTi_THAILANDHIVTEST
Lazada: INSTi_THAILANDHIVTEST
Tiktok: Insti.thailand-v2
Line Shopping: insti
Website: thailandhivtest.com
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook